BINOCULARS
- ก่อนใช้กล้องทุกครั้ง ควรคล้องสายสะพายไว้ที่คอ เพื่อเป็นการป้องกัน ไม่ให้กล้องตกหรือกระแทก นอกจากนั้น ท่านยังจะสามารถยกกล้องขึ้นใช้ได้อย่างรวดเร็วเมื่อต้องการ
- ปรับระยะห่างของเลนส์ตาทั้งสองข้าง ให้เหมาะกับระยะห่างของตา โดยมองวัตถุใดวัตถุหนึ่ง แล้วปรับตัวกล้องให้ภาพที่เห็นจากเลนส์ทั้งสองข้าง รวมเป็นภาพเดียวกัน
- หากท่านมีปัญหาด้านสายตา และไม่ได้ใส่แว่นตา ท่านสามารถปรับความชัดของกล้องให้เหมาะสมกับสายตาของท่านได้ หรือที่เรียกว่า "การปรับแก้สายตา"(Diopter Setting) ซึ่งทำได้โดย
- เล็งกล้องไปที่วัตถุใดวัตถุหนึ่ง ปิดเลนส์หน้า (เลนส์วัตถุ) ข้างขวา แล้วปรับโฟกัส ที่ตัวกล้องให้เห็นภาพวัตถุนั้นชัดที่สุด (โดยยังลืมตาทั้งสองข้าง)
- เล็งวัตถุเดิม ปิดเลนส์หน้า (เลนส์วัตถุ) ข้างซ้าย แล้วปรับระยะสายตาที่เลนส์ตาข้างขวา(Diopter) ไปทางด้านบวก หรือลบ จนเห็นภาพชัดที่สุด(โดยยังลืมตาทั้งสองข้าง)
- เมื่อท่านปรับแก้สายตาแล้ว กล้องสองตานี้จะเหมาะกับสายตาท่าน ท่านสามารถปรับระยะชัดได้โดยใช้ตัวปรับโฟกัสที่ตัวกล้องเพียงอย่างเดียว ก็จะสามารถเห็นภาพได้ชัดเจน
- การปรับแก้สายตานี้ เป็นการปรับที่เฉพาะในแต่ละบุคคล หากเป็นกล้องที่ใช้หลายคน อาจต้องปรับแก้สายตาใหม่ทุกครั้ง
- สำหรับท่านที่สายตาปกติ ให้ปรับแก้สายตา(Diopter Setting)ไว้ที่ค่าศูนย์
- สำหรับท่านที่มีปัญหาด้านสายตา และใส่แว่นตา ไม่จำเป็นต้องปรับแก้สายตา เพราะแว่นตาช่วยให้ท่านมองเห็นได้เป็นปกติแล้ว ท่านเพียงแต่ปรับ Eyecups ลงทั้งสองข้าง (พับ หรือ หมุนลงตามแต่รุ่น) เพื่อให้ระยะห่างระหว่างตา กับเลนส์ตาของกล้องอยู่ในระยะที่เหมาะสม ท่านก็จะสามารถเห็นภาพได้เต็ม field of view
- ห้าม มองดวงอาทิตย์ผ่านกล้อง เพราะอาจทำให้ตาบอดได้ !!!
ปรับระยะห่างของเลนส์ตา
Spotting Scopes
- กล้องตาเดียว (Spotting Scope) ควรใช้กับขาตั้งกล้องที่แข็งแรงมั่นคง เพื่้อให้เห็นภาพที่คมชัด ไม่สั่นไหว
- ในการวางกล้องลงทุกครั้ง ต้องมั่นใจว่า ขาตั้งกล้องกางเท่ากัน ทั้งสามขา พื้นมีความสม่ำเสมอ Spotting Scope
หลายตัว พังเพราะขาตั้งล้ม
- ในการเล็งวัตถุที่ต้องการ ควรใช้กำลังขยายต่ำที่สุดก่อน เพื่อทำให้หาวัตถุนั้นได้ง่ายขึ้น เมื่อเห็นวัตถุแล้ว จึงค่อยเพิ่มกำลังขยาย
- ห้าม มองดวงอาทิตย์ผ่านกล้อง เพราะอาจทำให้ตาบอดได้ !!!
การบำรุงรักษา
- ไม่สัมผัสเลนส์ เพราะไขมันจากมืออาจทำให้ความคมชัดของภาพลดลงได้
- ไม่ทำกล้องตก หรือกระแทก เพราะอาจทำให้กล้องเิกิดความเสียหายจนใช้การไม่ได้
- กล้องที่ไม่กันน้ำ ควรหลีกเลี่ยงจากความเปียกชื้น เพราะอาจทำให้เลนส์ และปริซึมเกิดราได้
- ในการทำความสะอาดเลนส์ทุกครั้ง ต้องเป่าฝุ่นที่ติดอยู่บนผิวเลนส์ออกให้หมด ก่อนเช็ดด้วยผ้า หรือกระดาษเช็ดเลนส์โดยเฉพาะ หากเช็ดเลนส์โดยไม่เป่าฝุ่นออก ก็เหมือนการนำกระดาษทรายไปเช็ดเลนส์
- ไม่ควรทิ้งกล้องไว้ในที่มีความร้อนสูง เช่น ในรถยนต์
- หลังใช้กล้องทุกครั้งควรเก็บในที่แห้ง และเย็น เมื่้อไม่ได้ใช้กล้องเป็นเวลานาน ควรเก็บกล้องไว้ในถุงพลาสติกที่ปิดมิดชิด และมีสารดูดความชื้น(ซิลิกาเจล)ใส่ไว้ด้วย